เจนจัดชัดเจน : เมื่อยาบ้า...ร้ายน้อยกว่าเหล้า สํานักข่าวไทย 26 June 2016

ถอด”ยาบ้า”จากยาเสพติด ดีจริงหรือ? Mono29, 25 June 2016

กรมวิทย์ฯ ร่วมกับ WHO จัดประชุมครั้งแรกของโลกให้ความรู้ความเข้าใจและแนวทางการควบคุมคุณภาพวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแก่หน่วยงานควบคุมกำกับภาครัฐและผู้ผลิตวัคซีนของแต่ละประเทศ




กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันชีววัตถุ ร่วมกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง“WHO Workshop on Implementation of Recommendation to Assure the Quality, Safety and Efficacy of Recombinant Human Papillomavirus Virus-Like Particle Vaccines ครั้งที่ 1” เพื่อให้บุคลากรของหน่วยงานควบคุมกำกับภาครัฐ  รวมถึงผู้ผลิตวัคซีนของแต่ละประเทศมีความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปใช้และให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติ   ขององค์การอนามัยโลกในการควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีน HPV
                   
นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เชื้อไวรัส HPV เป็นไวรัสที่พบมากที่สุด  ของการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ทั้งในหญิงและชายและเป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูก แม้ว่าส่วนใหญ่ของการติดเชื้อ HPV ไม่ก่อให้เกิดอาการหรือโรค แต่หากติดเชื้อถาวรในสายพันธุ์ที่ก่อโรค ส่งผลให้เกิดโรคเช่นกัน การให้วัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่มีประสิทธิภาพสูงนั้นจะต้องให้ในวัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPVได้ ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้ปรับปรุงแนวทางการควบคุมกำกับคุณภาพและความปลอดภัยของวัคซีน HPV ให้ดียิ่งขึ้น โดยได้มีการปรับปรุงข้อกำหนดทางเทคนิคของวัคซีน HPV ให้มีข้อมูลควบคุมตั้งแต่การผลิต การควบคุมคุณภาพ จนถึงการวิจัยทางคลินิก เพื่อประเมินคุณภาพองค์ประกอบที่เป็นวัคซีนรวมหลายสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส HPV ที่มีการผลิตในหลายประเทศและอยู่ในช่วงการศึกษาวิจัยทางคลินิก การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ได้จัดขึ้นเพื่อให้หน่วยงานควบคุมกำกับภาครัฐและผู้ผลิตมีความเข้าใจในแนวทางขององค์การอนามัยโลก และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานควบคุมกำกับภาครัฐและผู้ผลิตของแต่ละประเทศ ส่งเสริมการดำเนินการตามคำแนะนำที่สอดคล้องกัน
                นายแพทย์อภิชัย กล่าวต่ออีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันชีววัตถุ ร่วมกับ องค์การอนามัยโลก จัดการประชุมดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้ความรู้ในเรื่องของการวิจัยทางคลินิกของวัคซีนที่มีการขึ้นทะเบียนแล้ว ในหลายประเทศ เช่น วัคซีน HPV ชนิด bivalent (Type 16 และ 18) และวัคซีน HPV ชนิด quadrivalent (type 6, 11, 16 และ 18) รวมถึงวัคซีน HPVชนิด 9-valent (type 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45 52 และ 58) และวัคซีน HPV ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยทางคลินิกจากประเทศอินเดีย และ จีน เป็นต้น ตลอดจนพิจารณากรณีศึกษาการวิจัยทางคลินิก เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการประเมินคุณภาพประสิทธิภาพและความปลอดภัยตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก
                 ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยบุคลากรจากหน่วยงานควบคุมกำกับภาครัฐรวมถึงผู้ผลิตวัคซีนของแต่ละประเทศผู้แทนจากองค์การอนามัยโลก ผู้แทนจากประเทศบังคลาเทศ เบลเยี่ยม ภูฐาน อังกฤษ อินเดีย  อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย จีน เนปาล ศรีลังกา เวียดนาม และไทย รวมทั้งสิ้น 45 คน โดยมีเจ้าหน้าที่จากองค์การอนามัยโลกสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO SEARO) ระดับภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก (WHO WAPRO) และระดับภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก (WHO EMRO) ร่วมด้วย

Share this

Previous
Next Post »