เจนจัดชัดเจน : เมื่อยาบ้า...ร้ายน้อยกว่าเหล้า สํานักข่าวไทย 26 June 2016

ถอด”ยาบ้า”จากยาเสพติด ดีจริงหรือ? Mono29, 25 June 2016

บริโภคขนมจีน-ก๋วยเตี๋ยวอย่างไรให้ปลอดภัย


 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะผู้บริโภคไม่ควรบริโภคอาหารชนิดเดียวซ้ำๆ และบริโภคในปริมาณมากๆ  โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนนี้ ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ควรซื้ออาหารมาค้างไว้นานๆ  หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารนั้น ควรเก็บไว้ในตู้เย็น และนำมาอุ่นก่อนรับประทาน
               นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า คนไทยนิยมบริโภคอาหารประเภทเส้นรองจากข้าว ซึ่งอาหารเส้นที่ได้รับความนิยมสูงได้แก่ขนมจีนและก๋วยเตี๋ยว แต่เนื่องจากประเทศไทยมีอากาศค่อนข้างร้อน ทำให้อาหารมีโอกาสเน่าเสียได้ง่าย เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการบางรายที่ผลิตเส้นขนมจีนและเส้นก๋วยเตี๋ยวใช้วัตถุกันเสียหรือที่เรียกว่าสารกันบูดในการผลิต โดยวัตถุกันเสียที่นิยมใช้กันคือ กรดเบนโซอิก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้ในอาหารไม่เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุเจือปนอาหารของโคเด็กซ์ (JECFA) ได้กำหนดเกณฑ์ความปลอดภัย (ADI) ของกรดเบนโซอิกไว้เท่ากับ 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
 
                กรดเบนโซอิก นิยมใช้เป็นวัตถุกันเสียในอุตสาหกรรมอาหารหลายชนิด ทั้งเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ อาหารหมักดอง รวมถึงใช้สำหรับรักษาคุณภาพของเครื่องสำอางและยาสีฟัน โดยกรดเบนโซอิกสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ความเป็นพิษของกรดเบนโซอิกหากได้รับในปริมาณที่สูงอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสียได้  หากได้รับในปริมาณน้อยร่างกายจะสามารถขับออกให้หมดไปได้   แต่หากได้รับในปริมาณมากและหรือได้รับทุกวันอาจเกิดการสะสมจนถึงระดับที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายได้โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการแพ้  ดังนั้นผู้บริโภคไม่ควรบริโภคอาหารชนิดเดียวซ้ำๆ และบริโภคในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนนี้ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ควรซื้ออาหารมาค้างไว้นานๆ  หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารนั้น ควรเก็บไว้ในตู้เย็นและนำมาอุ่นก่อนรับประทาน

           นายแพทย์อภิชัย  กล่าวต่ออีกว่า ที่ผ่านมา (ปีพ.ศ. 2555-2557)  สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เฝ้าระวังการใช้วัตถุกันเสียในอาหารประเภทเส้นโดยตรวจวิเคราะห์อาหารประเภทเส้นจำนวน 192 ตัวอย่าง พบว่ามีการใช้กรดเบนโซอิกจำนวน 136 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 70.8 โดยมีการใช้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจำนวน 33 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 17.2  โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดเส้นใหญ่มีการใช้กรดเบนโซอิกทุกตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 94.3 - 2,633 ในขณะที่เส้นขนมจีนพบการใช้กรดเบนโซอิกร้อยละ 87.5 ปริมาณที่ใช้อยู่ในช่วง 166 - 1,272 เส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดเส้นเล็ก พบการใช้กรดเบนโซอิกร้อยละ 82.4 ปริมาณที่ใช้อยู่ในช่วง 20 - 3,474  จากข้อมูลดังกล่าว สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารได้นำมาประเมินความปลอดภัยในการผู้บริโภค โดยได้เผยแพร่ผลการประเมิน ตลอดจนข้อมูลความรู้ ข้อแนะนำสู่ประชาชน ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการบริโภค

Share this

Previous
Next Post »